หน้าแรก | โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ |
|
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
|
||
สารบัญ | ||
หน่วยที่ 4 | การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
บทที่ 12 | การการอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก | |
อนุสัญญาบาเซล Basel Convention | ||
อนุสัญญาบาเซล Basel Convention ชื่อเต็ม อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด |
||
สาเหตุของปัญหา มีการลักลอบนำของเสียอันตรายจากประเทศอุตสาหกรรมไปทิ้งในประเทศด้อยพัฒนา ในทวีปแอฟริกาอเมริกากลาง และเอเชียได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการถ่ายโอนของเสียอันตรายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศด้อยพัฒนา แต่อนุสัญญานี้ ไม่ได้ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายของเสีย กัมมันตรังสี radioactive waste อนึ่ง อนุสัญญานี้ประสงค์จะลดปริมาณและความเป็นพิษของของเสียที่ก่อกำเนิดขึ้น wastes generated กับทั้งสร้างความเชื่อมั่นว่า ของเสียจะได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใกล้เคียงสอดคล้องกับแหล่งก่อกำเนิด source of generation ของของเสียนั้นให้มากที่สุด ตลอดจนใช้วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาในการบริหารจัดการของเสียอันตรายและของเสียอย่างอื่นที่ประเทศเหล่านั้นก่อกำเนิดขึ้นด้วย |
||
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ The United Nation Environment Programme : UNEP จึงได้จัดประชุมนานาชาติขึ้น เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 ณ นครบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน |
||
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการนำเข้า ส่งออกและนำผ่านของเสียอันตรายให้เกิดความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย รวมทั้งป้องกันการขนส่งที่ผิดกฎหมายและช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการของเสียอันตราย โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งต่อมาได้เปิดให้ประเทศต่างๆ ได้ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2535 |
||
ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกที่ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาแล้ว จำนวนทั้งหมด 186 รัฐ ประเทศไทยได้จัดส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาและกำหนดข้อตกลงต่างๆ มาโดยลำดับและได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาบาเซลเมื่อวันที่ 24 พฤศิจกายน 2540 อนุสัญญาบาเซลมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นมา |
||
Copyright By : Chalengsak
Chuaorrawan Sainampeung School 186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com Tel; 089-200-7752 mobile |
|
http://www.sainampeung.ac.th |